ไวรัสตับอักเสบบี ภัยร้ายเงียบที่ไม่รู้ตัว ถือได้ว่าเป็นโรค ที่มีความร้ายแรงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยให้ความสนใจ ซึ่งจริงๆแล้ว ปัจจุบันเป็นโรคที่เกิดขึ้น กับคนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่พบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อยู่เป็นจำนวนมาก ในประชากรชาวไทย
ไวรัสตับอักเสบบี มีอยู่ 2 ชนิด
1. แบบเฉียบพลัน เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ผู้ติดเชื้อสามารถหายได้เอง ภายใน 3 – 6 เดือน เนื่องจากร่างกาย จะสร้างภูมิต้านทานขึ้น และทำลายเชื้อไวรัสได้เอง หากรายนั้น มีภูมิต้านทานที่สามารถทำลายเชื้อได้ และจะไม่กลับมาเป็นอีก
2. แบบเรื้อรัง เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเป็นนานมากกว่า 6 เดือน และส่งผลกระทบไปในระยะยาว ของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง ฯลฯ โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ชนิดเรื้อรังนี้ อาจได้รับเชื้อ มาตั้งแต่แรกเกิด จากมารดา หรือคนรอบข้าง
อันตราย ของไวรัสตับอักเสบบี
1. เกิดเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับอักเสบ โรคดีซ่าน โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ ฯลฯ เป็นต้น
2. อาจทำให้เสียชีวิตได้
อาการของผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
1. เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย โดยปกติคนส่วนใหญ่ มักไม่แสดงอาการใดๆ และไม่รู้ตัว จนกระทั่งตรวจเจอ
2. ในบางรายอาจมีอาการแสดง เช่น มีไข้ คล้ายไข้หวัด
3. เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ในบางราย อาจมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อ
4. ในบางราย อาจมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา
5. ในบางราย อาจมีตัวเหลือง และตาเหลือง จนผิดปกติ
6. ในบางราย อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
7. ในบางราย จะรู้สึกอ่อนเพลีย
8. ในบางราย อาจมีผื่นขึ้น ตามบริเวณผิวหนัง
การป้องกันไวรัสตับอักเสบ
เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย ในชีวิตประจำวัน ที่อาจไม่รู้ตัว เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ใครที่เป็นพาหะ หรือมีเชื้อนี้อยู่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ควร ต้องระมัดระวังด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพราะเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้โดยทาง เลือด น้ำเหลือง น้ำเชื้อ น้ำคัดหลั่ง และจากแม่สู่ลูกขณะคลอด หรือการให้นม
1. ควรใช้ช้อนกลาง เมื่อรับประทานอาหารกับผู้อื่น เพื่อป้องกันกรณีที่ ปากหรือในปาก อาจมีแผล ซึ่งอาจจะทำให้ได้รับการติดเชื้อได้
2. ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน ฯลฯ เป็นต้น
3. ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือจูบ กับผู้ที่มีเชื้อ หากตนเองมีบาดแผล
4. ควรป้องกันหากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ
5. ควรหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา เข็มสัก หรือเจาะหู ที่ร่วมกับผู้อื่น
ภัยเงียบใกล้ตัว ที่คุณอาจกำลัง อยู่ในภาวะเสี่ยง นอกจากจะหลีกเลี่ยงแล้ว ก็ควรหมั่นออกกำลังกาย และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นประจำ และสม่ำเสมอ เพื่อจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกัน การได้รับเชื้อไวรัส แบคทีเรียต่างๆ ที่อาจสามารถ เข้าสู่ร่างกายได้