ได้มีการขนส่งไตที่รับการบริจาค ส่งไปยังศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลสหรัฐผ่านทาง โดรน ( Drone ) ในเที่ยวแรกของมัน
หลายคนเห็นศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ สำหรับระบบอาศยานไร้คนขับ ( UAS ) ที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยมีเจ้าหน้าที่บางคนทำเช่นนั้นในแอฟริกา
เที่ยวบินของสหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องใช้โดรน ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถดูแลและตรวจสอบอวัยวะได้
โดรน คืออะไร ?

โดรน ( Drone ) คือ อากาศยานไร้คนขับ มีชื่อเรียกคือ UAV ( Unmanned Aerial Vehicle ) เป็นส่วนหนึ่งของ UAS ( Unmanned Aircraft System ) ถูกพัฒนาเพื่อสามารถควบคุมเครื่องบินได้จากพื้นดิน โดยยุคแรกนั้นถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ ทำภารกิจเสี่ยงและอันตรายในทางการทหาร หรือนักบิน แต่เมื่อเวลาผ่านไป จึงได้ถูกพัฒนามาใช้ในด้านเชิงพาณิชย์หลายด้าน
จากข้อมูลของ United Network for Organ Sharing ซึ่งจัดการปลูกถ่ายอวัยวะในสหรัฐอเมริกาในปี 2561 มีผู้คนเกือบ 114,000 คน มีผู้คนรอ 1.5 % และเกือบ 4 % ล่าช้ามากกว่า 2 ชั่วโมง Joseph Scalea ผู้ช่วยศาสตรจารย์ด้านการผ่าตัด จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์กล่าว ” การส่งอวัยวะจากผู้บริจาค สู่ผู้ป่วยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และต้องหาวิธีการขนส่งสิ่งนี้ให้ดีขึ้น “
จากความร่วมมือ ในหมู่ศัลยแพทย์ วิศวกรสหพันธ์การบินแห่งชาติ ( FAA ) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้ออวัยวะ นักบิน พยาบาล และผู้ป่วย จึงสามารถบุกเบิกด้านการปลูกถ่ายอวัยวะได้
การเดินทาง 3 ไมล์ นั้นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่มากมาย รวมถึงเสียง และการแบกรับน้ำหนัก ซึ่งจำเป็นต้องมีความปลอดภัย สำหรับเที่ยวบินในเมือง ที่มีประชากรหนาแน่น
ภารกิจของโดรนนั้น ประสบความสำเร็จ และตอนนี้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้วหนึ่งในทีมวิศวกรรมจาก University of Maryland กล่าวว่า ” จากแรงกดดันมหาศาล ที่รู้ว่ามีคนรออวัยะนั้นอยู่ ถือได้ว่าเป็นสิทธิพิเศษ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำคัญนี้ “
ผู้อำนวยการมูลนิธิ Living Legacy Foundation of Maryland องค์กรการกุศลที่ทำงานเพื่อเพิ่มการบริจาคอวัยวะกล่าวว่า ” ถ้าเราพิสูจน์ได้ว่างานนี้ เราสามารถดูการขนส่งอวัยวะที่ไร้คนขับได้ไกลขึ้น ส่ิงนี้จะลดภาระของนักบิน เวลาบิน และปัญหาด้านความปลอดภัย ที่เรามีอยู่ได้ “