อัลไซเมอร์ พฤติกรรมเสี่ยง ควรระวัง อันตรายสูง

ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาการของ อัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease ) เป็นอาการของผู้ที่ สูญเสียความทรงจำ ซึ่งถือได้ว่า เป็นโรคที่มีความรุนแรง และพบได้บ่อย อีกชนิดหนึ่ง เพราะเป็นโรคที่ รักษาไม่หายขาด อีกทั้งปัจจุบัน ยังไม่ทราบ ถึงสาเหตุที่แน่ชัด ว่าเกิดจากสิ่งใด แต่โดยส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นกับ ผู้ที่มีอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป และคาดว่าอาการ จะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น และ ยังมีการศึกษาพบว่า โรคอัลไซเมอร์ จะทวีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล อยู่ไม่น้อย เพราะโรคนี้ เป็นโรคที่ติดอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิต เลยก็ว่าได้

อัลไซเมอร์

ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาการของ อัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease ) เป็นอาการของผู้ที่ สูญเสียความทรงจำ ซึ่งถือได้ว่า เป็นโรคที่มีความรุนแรง และพบได้บ่อย อีกชนิดหนึ่ง เพราะเป็นโรคที่ รักษาไม่หายขาด อีกทั้งปัจจุบัน ยังไม่ทราบ ถึงสาเหตุที่แน่ชัด ว่าเกิดจากสิ่งใด แต่โดยส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นกับ ผู้ที่มีอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป และคาดว่าอาการ จะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น และ ยังมีการศึกษาพบว่า โรคอัลไซเมอร์ จะทวีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล อยู่ไม่น้อย เพราะโรคนี้ เป็นโรคที่ติดอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิต เลยก็ว่าได้

โรคอัลไซเมอร์ คือ อาการของ การสูญเสียเซลล์ประสาท หรือเรียกว่า เซลล์ประสาทตาย ส่งผลทำให้สมองฝ่อ การทำงานของเส้นประสาท ลดประสิทธิภาพลง ส่งผลต่อการทำงาน ในส่วนของความทรงจำ การใช้ภาษา และการคิด ทำให้เกิดอาการหลงลืม

อาการของ อัลไซเมอร์ แบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะเริ่มต้น

– ความทรงจำ และ ภาษาเกิดการบกพร่อง

– มีปัญหาทางด้าน การเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ

– การเคลื่อนไหว เกิดการบกพร่อง การปฏิบัติไม่ประสานกัน

– สูญเสียการรับรู้ ความรู้สึก มักมีอาการเพิกเฉย ต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

– อารมณ์แปรปรวน ไร้เหตุผล

ระยะกลาง

– สูญเสียความทรงจำ จดจำข้อมูลไม่ได้ ทั้งที่พยายาม ที่จะจดจำแล้ว เช่น จดจำบุคคลใกล้ชิด หรือ ญาติสนิท ไม่ได้

– สูญเสียการเรียนรู้ สิ่งใหม่

– มีความบกพร่อง ทางด้านภาษา การสื่อสารมีปัญหา

– มักมีอาการสับสน และ อาจเห็นภาพหลอน

– มีอาการหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย

– อารมณ์ไม่คงที่

– มีอาการหลงผิด

– เกิดภาวะเครียดบ่อย โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ



ระยะสุดท้าย

– มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล

– ไม่สามารถพูด และตอบโต้ได้ แต่ยังเข้าใจอยู่ อาจใช้การสื่อสาร หรือ ตอบโต้ด้วยพฤติกรรม และการกระทำ

– มักแสดง อาการก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง

– มักมีอาการเพิกเฉย ไร้อารมณ์

– มีอาการทางจิต ประสาทหลอน

– มักมีอาการ อ่อนเพลียง่าย

– มีอาการ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

– ไม่สามารถ ทานอาหารเองได้ และ ช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยได้

– ในระยะนี้ อาจทำให้ผู้ป่วย เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนอื่น และ อาจทำให้เสียชีวิตได้

ใครเสี่ยง เป็นอัลไซเมอร์

ปัจจุบันยังไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่า อาจมีปัจจัยก่อให้เกิด ความเสี่ยงได้ คือ

– ผู้ที่มีภาวะเครียด ซึมเศร้า

– ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย

– ผู้ที่สูบบุหรี่

– ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ

– ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อม ที่มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ เช่น อะลูมิเนียม ฯลฯ

– ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ

วิธีลดความเสี่ยง ของการเกิด โรคอัลไซเมอร์

– การฝึกทักษะ โดยการฝึกคิด คำนวณ และคาดคะเน สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว

– ทำกิจกรรม ที่เสริมสร้าง การใช้ทักษะ ทางด้านสติปัญญา เช่น เล่นเกมส์ปริศนา เล่นดนตรี เล่นหมากรุก ฯลฯ

– ฝึกเรียนรู้ ภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาของตนเอง ตั้งแต่กำเนิด

– การพบปะผู้คน พูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราว

– เลือกรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ ที่อาจมีส่วนช่วย ในการลดความเสี่ยงได้ เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืช ปลา ไวน์แดง ขมิ้น วิตามินบี วิตามินซี และ กรดโฟลิก ฯลฯ

– ควรออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ

วิธีรักษาอัลไซเมอร์

แม้ว่าอาการอัลไซเมอร์ จะเป็นโรคที่ ไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบัน ก็ได้มีวิธีการ ที่ช่วยในการบรรเทา ได้เท่านั้น

– การรักษาด้วยยา ที่ช่วยในการบรรเทา

– การรักษาโดย การกระตุ้นจิตใจ เพื่อช่วยชะลอการพัฒนาการ ของโรคให้ช้าลง

– การดูแลอย่างใกล้ชิด จากคนรอบข้าง

อันตรายจากอัลไซเมอร์

เนื่องจากอัลไซเมอร์ มีผลโดยตรง กับระบบประสาทและสมอง ส่งผลทำให้การทำงานของสมอง และ ระบบประสาท มีการเปลี่ยนแปลง ทางด้านการควบคุม พฤติกรรม ความคิด และการควบคุม การเคลื่อนไหว หรือทรงตัว ของร่างกาย อาจส่งผล ทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนอื่นได้ เช่น หกล้มแล้วได้รับอุบัติเหตุ แขนขาหัก ฯลฯ และในบางราย อาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งมีความเสี่ยง และอันตรายสูง ต่อการเสียชีวิต

ดังนั้น โรคอัลไซเมอร์ จึงเป็นอีกโรคหนึ่ง ที่สร้างความลำบาก ให้กับผู้ที่ใกล้ชิด กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ในชีวิตประจำวัน จึงมีความจำเป็น ที่ผู้ใกล้ชิด ต้องให้ความสนใจ และดูแลผู้ป่วย อย่างใกล้ชิด และด้วยความใส่ใจ อย่างเป็นพิเศษ ต้องคอยหาวิธี ป้องกันอันตราย จากสิ่งแวดล้อม ที่ผู้อาศัยอยู่ รวมไปถึง ต้องเตรียมรับ กับภาวะทางด้านอารมณ์ ของผู้ป่วยด้วย

หากพบว่าตนเอง หรือคนใกล้ชิด เริ่มมีอาการคล้ายกับ โรคอัลไซเมอร์ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษา และคำแนะนำ ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ลดและบรรเทา ชะลอการเกิดสมองเสื่อม ขั้นรุนแรงได้

ผู้เขียน: ofezsoft

เผยแพร่ ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ, เทคนิคดูแลสุขภาพ เคล็ดลับความงาม, อ่อนเยาว์, สอนสร้างโปรแกรม (Website), สอนสร้าง API, SEO, Facebook, Line, Social, รับทำเว็บไซต์, รับทำเว็บ App