พฤติกรรมเสี่ยงต่ออาการ สายตาสั้น เป็นปัญหาที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากเทียบกับยุคก่อนเทคโนโลยี และอาการสายตาสั้น สามารถเกิดขึ้นได้ กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กส่วนมาก เริ่มประสบกับปัญหาเรื่องสายตา เป็นเพราะพฤติกรรม การจ้องมองหน้าจอมือถือ และคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน จึงส่งผลทำให้ เกิดความเสี่ยงได้ง่าย โดยหลีกเลี่ยงได้ยาก
สายตาสั้น ( short sighted ) คือ อาการผิดปกติทางสายตา ที่รับแสงหักเหจากวัตถุ ได้โดยไม่สามารถ โฟกัสตรงด้านหน้าของจอตา ได้อย่างพอดี ซึ่งมีผลมาจาก กระจกตามีความโค้ง มากเกินไป หรือลูกตามีความยาว มากกว่าปกติ จึงส่งผลทำให้ ผู้ที่มีสายตาสั้น มองเห็นภาพ หรือวัตถุที่อยู่ไกล ได้ไม่ชัดเจน แต่จะมองเห็นเป็นวัตถุเบลอ หรือ อาจมองไม่เห็นในระยะไกล แต่ยังคงมองเห็นภาพหรือวัตถุ ที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน

อาการของ สายตาสั้น
– มองเห็นภาพและวัตถุ ที่อยู่ไกลได้ไม่ชัดเจน มองเห็นภาพเบลอ และมัว
– ในบางราย อาจมองไม่เห็นภาพและวัตถุ ที่อยู่ไกลได้เลย ( ขึ้นอยู่กับค่าสายตาของแต่ละบุคคล )
– มีอาการแสบตา ปวดตา หรือน้ำตาไหล เมื่อออกไปเผชิญแดดจ้า หรือ กลางแจ้ง
– มีอาการปวดเมื่อยดวงตา ตาล้า เมื่อเพ่งมองดูวัตถุที่อยู่ไกล
– มีอาการปวดศีรษะ ( มักจะปวดมาก เมื่อเริ่มมีอาการ สายตาสั้นในระยะแรก หรือ พยายามเพ่งมองดู วัตถุหรือภาพที่อยู่ไกล )
– มีอาการกระพริบตาบ่อย หรือ ต้องหรี่ตามองสิ่งที่อยู่ไกล
ปัจจัยเสี่ยงสายตาสั้น
– การใช้สายตา จ้องหรือเพ่ง ดูหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ ในระยะใกล้มาก และนานมากเกินไป
– ผู้ที่ชอบอ่านหนังสือในที่มืด แสงสว่างไม่เพียงพอ
– ผู้ที่อาศัยอยู่ในห้อง หรือพื้นที่ ที่มีแสงน้อย เป็นระยะเวลานาน เช่น ในบ้าน ในที่ทำงาน ฯลฯ โดยไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอกเลย ในระหว่างวัน จะมีความเสี่ยงสูง ที่จะมีอาการสายตาสั้น มากกว่าผู้ที่ ได้พบเจอแสงข้างนอกบ่อย
– เกิดจากพันธุกรรม ผู้ที่คนในครอบครัว มีประวัติสายตาสั้น
ผลกระทบของสายตาสั้น
– มีผลกระทบต่อ การใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถ มองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลได้ชัดเจน อาจมีผลต่อการตัดสินใจ ในการทำสิ่งที่สำคัญ
– เป็นอุปสรรค ในการทำงาน เรียนหนังสือ หากต้องมองจากระยะไกล
– อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การขับรถ การทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เสี่ยงต่อการ เกิดอันตรายได้
– เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น กระจกตาลอก ต้อกระจก และต้อหิน ฯลฯ
– รู้สึกอึดอัด และรำคาญ เมื่อมองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ไกล อาจส่งผลกระทบ ต่อสภาพจิตใจได้
การป้องกันสายตาสั้น
– ควรพักสายตาทุกๆ 45 นาที โดยการหลับตาอย่างน้อย 5 – 10 นาที หากต้องจ้องหน้าจอ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน
– ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือ ดูโทรทัศน์ในระยะใกล้ และที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ
– ควรจ้องมองต้นไม้สีเขียว ในระยะไกลบ้าง
– ควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้ง หากต้องออกกลางแดดจ้า
– ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ เพราะมีผลกระทบโดยตรง ต่อสุขภาพของดวงตา
– ควรเลือกรับประทาน ผักและผลไม้ เพื่อบำรุงสุขภาพดวงตา
– ควรสวมแว่นตากันแสงทุกครั้ง เมื่อต้องจ้องหน้าจอมือถือ หรือคอมพิวเตอร์
วิธีการรักษา
– การใส่แว่นตา หรือ ใช้คอนแทคเลนส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ในการใช้เลนส์ช่วยในการแก้ไข
– การผ่าตัด ด้วยวิธีทางการแพทย์ โดยการ Lasik, LASEK, PRK และฝังแก้วตาเทียม ทั้งนี้การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละราย และตามการวินิจฉัยของแพทย์
หากพบว่าตนเอง มีพฤติกรรมเสี่ยง ก็ควรปรับเปลี่ยน เลิกทำในสิ่งที่อาจส่งผลกระทบ ต่อสายตาสั้น และสำหรับผู้ที่ มีอาการสายตาสั้นอยู่ แล้วพบว่าตนเอง มักมองเห็นผิดปกติ โดยอาจมองไม่เห็นกระทันหัน หรือ มองเห็นเป็นจุดแสงจ้า จุดสีดำ ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาจเป็น ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้