สบู่เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่ง ที่ได้รับความนิยม อย่างแพร่หลาย ที่เป็นความต้องการของ ผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ เพราะสบู่เป็นผลิตภัณฑ์ครัวเรือน ที่ไม่ว่าครอบครัวไหน ก็ต้องใช้สบู่ ปัจจุบัน สบู่ ได้รับความนิยมอย่างสูง ในตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะสบู่สมุนไพร ที่เหล่าบรรดาพ่อค้า แม่ค้า หันมาให้ความสนใจ ในธุรกิจสบู่สมุนไพร เพราะคิดว่าน่าจะเป็น ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ และต่อยอดไปในอนาคตได้
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ต้องการใช้สบู่ที่ได้มาจากธรรมชาติ ที่ทำด้วยสมุนไพรแท้ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย ใน ร้านค้าออนไลน์ เพราะตามท้องตลาดทั่วไป อาจจะหาซื้อสบู่ ที่เป็นสบู่สมุนไพรจริงๆ ได้ยาก สำหรับใครที่กำลังมองหา ธุรกิจ หรือ หารายได้เสริม แต่ไม่รู้ว่า จะทำอะไรดี ก็ไม่ยากถ้าหากคุณ ลองทำธุรกิจสบู่สมุนไพร
ข้อได้เปรียบของ สบู่ สมุนไพรไทย
1. เพราะความเป็นเอกลักษณ์ ของกลิ่นสมุนไพรไทย จึงทำให้ชาวต่างชาติ นิยมและให้ความสนใจ กับสบู่สมุนไพรไทย เป็นอย่างมาก
2. มีกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง เพราะสบู่สมุนไพรไทย มีลูกค้าทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
3. หากออกแบบรูปลักษณ์ ของสบู่ให้มีความโดดเด่น และแตกต่าง ไม่เพียงแต่ผู้บริโภค ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จะซื้อไปใช้เท่านั้น แต่ยังซื้อสบู่สมุนไพร เป็นของฝากได้อีกด้วย
4. สบู่สมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ใช้แล้วหมดไป มีแนวโน้มที่ผู้บริโภค จะกลับมาซื้อซ้ำได้อีก มากกว่า 1 ครั้ง
5. สบู่เป็นผลิตภัณฑ์ ที่คนทั่วโลกต้องใช้ จึงทำให้การทำธุรกิจ ของสบู่สมุนไพร มีแนวโน้ม ที่จะเติบโตในอนาคตได้
6. สบู่สมุนไพร มีความปลอดภัยที่สูง จึงทำให้ผู้บริโภค ให้ความมั่นใจ และวางใจ ในการใช้ผลิตภัณฑ์
สมุนไพร ที่นิยม สำหรับนำมาทำเป็นสบู่ เช่น ขมิ้น, ว่านหางจระเข้, มะนาว, มะขาม, ส้ม, มังคุด, ทับทิม, ชาเขียว และรำข้าว ฯลฯ เป็นต้น ยังมีสมุนไพร อีกมากมายหลายชนิด ที่มีสรรพคุณ ที่สามารถช่วยบำรุงผิว และสามารถนำมาทำ เป็นสบู่ได้อีกมากมาย แล้วแต่ว่าใครต้องการ ได้สรรพคุณแบบไหน เช่น ต้องการให้ผิวขาว เนียนใส รักษาสิว หรือ ทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่น ฯลฯ
สบู่ เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับ ทำความสะอาดผิวกาย ผิวหน้า เช่น ใช้สำหรับล้างมือ ใช้อาบน้ำ
สบู่ก้อน เป็นสูบ่ที่มีส่วนผสม ระหว่างกรด (ไขมัน) กับเบส ( ด่าง ) ในอัตราส่วนที่สามารถ ทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือ มีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 – 10 ( ในเอกสารจดแจ้งของ อย. ให้ผู้ผลิตสบู่ก้อน ระบุว่ามีค่า pH ไม่เกิน 11 )
กรด หรือ กรดไขมัน เช่น ไขมันสัตว์ ไขมันพืช ส่วนเบส เช่น โซดาไฟ โดยทั่วไปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสม คือ เมื่อผสมกันแล้วควรจะเหลือกรดไขมัน หากไม่มีเครื่องมือในการวัดค่า pH ให้เก็บสบู่เอาไว้อย่างน้อย 15 – 30 วัน เพื่อให้ค่า pH ลดลง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
กรด ( ไขมัน ) และเบส ( ด่าง ) ที่นำมาทำสบู่ ไขมันแต่ละชนิดมีกรดไขมัน มากกว่า 1 ชนิด โดยธรรมชาติ กรดไขมันเหล่านี้ จะไม่อยู่อิสระ แต่จะรวมตัวกับสาร กลีเซอรอล ในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฎิกริริยากับกรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจาก กลีเซอรไรด์ รวมตัวเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมัน จะหลุดออกมาเป็น กลีเซอรีน
ความแตกต่างของ สบู่ที่ได้จากกรดไขมัน แต่ละชนิด
1. น้ำมันรำข้าว มีวิตามินอีสูง ทำให้สบู่มีความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง
2. น้ำมันมะพร้าว จะทำให้สบู่มีเนื้อแข็ง ทำให้สามารถแตกได้ง่าย มีสีขาวข้น มีฟองมากเป็นครีม ให้ฟองที่คงทน แต่จะทำให้ผิวแห้ง
3. น้ำมันปาล์ม จะทำให้สบู่มีฟองน้อย มีความแข็งเล็กน้อย สามารถทำความสะอาดได้ดี แต่จะทำให้ผิวแห้ง
4. น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่ดี เมื่อใช้แล้ว จะทำให้มีความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะอาจทำให้มี กลิ่นหืนได้ง่าย
5. น้ำมันมะกอก ทำให้สบู่มีเนื้อแข็ง มีฟองนุ่มนวล ช่วยทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง
6. น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่มี วิตามินอีสูง ทำให้ผิวไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว
7. น้ำมันละหุ่ง ทำให้สบู่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก สบู่ไม่แตกง่าย ทำให้สบู่มีความนุ่มเนียน และทำให้ผิวนุ่ม
8. น้ำมันเมล็ดทานตะวัน เป็นน้ำมันที่ทำให้ เนื้อสบู่มีความนุ่ม แต่ว่าทำให้เกิดฟอง ได้น้อย
9. ขี้ผึ้ง ทำให้สบู่มีเนื้อที่แข็ง มีฟองน้อย แต่มีอายุการใช้งาน ได้นาน
10. ไขมันแพะ ทำให้สบู่มีเนื้อนุ่ม ทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น ผิวนุ่ม
11. ไขมันวัว ทำให้สบู่มีเนื้อแข็ง มีสีขาว มีฟองน้อย นุ่มนวล และมีอายุการใช้งานได้นาน
12. ไขมันหมู ทำให้สบู่มีเนื้อแข็ง มีฟองน้อย แต่มีอายุการใช้งานได้นาน
เบส หรือ ด่าง ที่ใช้มี 3 ชนิด
1. โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำสบู่ก้อน
2. โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ทำสบู่เหลว
3. ขี้เถ้า ที่ใช้ผลิตสบู่ในสมัยโบราณ แต่มีการพัฒนาให้เป็นด่างแทน
” แต่ถึงอย่างไร ถึงแม้ว่าธุรกิจ การทำสบู่สมุนไพร ขายใน ตลาดออนไลน์ ก็ยังมีข้อเสียเปรียบตรงที่ มีคู่แข่งขันที่สูงมาก ถ้าหากสินค้าของเรา มีความโดดเด่น และแตกต่าง และมีข้อดีมากกว่า และสามารถสู้กับ ผู้แข่งขันทางการตลาด ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ของการนำไปสู่การ ประสบความสำเร็จ ของการทำธุรกิจ สบู่สมุนไพร ในตลาดออนไลน์ ”
แหล่งข้อมูลอ้างอิงบางส่วน: (” สบู่ “, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)