ลดพุง ไม่ใช่เรื่องยาก โรคอ้วนลงพุง ปัญหาใหญ่ของผู้ที่มีไขมันสะสม บริเวณช่องท้องมากเกินไป ทราบหรือไม่ว่าอ้วนลงพุง ปัญหาใหญ่ที่คุณไม่ควรละเลย เพราะไขมันที่สะสมอยู่ มันจะแตกตัว กลายเป็นกรดไขมันอิสระ แล้วเข้าสู่ตับ ซึ่งส่งผลทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ ได้ไม่ดี จึงส่งผลทำให้ เกิดเป็นโรคอ้วนลงพุง
อ้วนลงพุง เป็นสาเหตุหลัก ของการเกิดโรคเรื้องรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น และยังมีการศึกษาพบว่า พุงยิ่งใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งทำให้คุณเสียชีวิตได้เร็วเท่านั้น โดยรอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ซม. ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดเป็น โรคเบาหวานได้ถึง 3 – 5 เท่าเลยทีเดียว
หากไม่ ลดพุง อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร?
1.มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1 – 2 เท่า ต่อสุขภาพ ดังนี้
– เสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ เต้านม และมดลูก
– เสี่ยงต่อการมีบุตรยาก
– ส่งผลทำให้ฮอร์โมนระบบสืบพันธ์ผิดปกติ
– หากหญิงตั้งครรภ์ จะส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติ ต่อทารกในครรภ์
– เสี่ยงต่อผลแทรกซ้อน จากการดมยาสลบ
2.มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 – 3 เท่า ต่อสุขภาพ ดังนี้
– ส่งผลทำให้ข้อเสื่อมก่อนวัย โดยเฉพาะบริเวณเข่า และสะโพก
– ส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูง
– ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
– ทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด
– ส่งผลให้เป็นโรคเก๊าท์ (กรดยูริกในเลือดสูง)
3.มีความเสี่ยงมากกว่า 3 เท่า
– ทำให้หายใจขัด
– เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ
– เป็นโรคเบาหวาน
– ก่อเกิดโรคของถุงน้ำดี
– ไขมันในเลือดผิดปกติ
วิธีลด โรคอ้วนลงพุง
1.ควรบริโภคไขมัน น้ำตาล โซเดียม ในปริมาณที่พอดี
– ไขมัน ไม่ควรมากกว่า 30 กรัม/วัน
– น้ำมัน เด็ก ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชา , ผู้ใหญ่ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา
– โซเดียม ไม่ควรเกิน 2,300/วัน
2.ควรปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร
– ควรเลือกทานข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต แทนข้าวขัดสี
– ควรเลือกทานผักสด ผักนึ่ง ผักลวก หรือผักตระกูลกะหล่ำ
– ควรเปลี่ยนมาทานเนื้อปลา ไข่ขาว ถั่วแดง มากกว่าเนื้อเนื้อวัว หรือเนื้อหมูที่ติดมัน
– เลือกดื่มนมที่ปราศจากไขมัน นมรสจืด หรือนมถั่วเหลืองหวานน้อย
– หากจำเป็นต้องทานน้ำสลัด ควรเลือกน้ำสลัดชนิดไร้ไขมัน หรือชนิดไขมันต่ำไม่ควรเกิน 3 ช้อนชา/วัน
– ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้ 8-10 แก้ว/วัน และไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ หรือน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
– ควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป
– ควรเลือกกินอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ตุ๋น ลวก
– ควรงดทานอาหารที่มีความมัน หวาน เค็ม
3.ควรออกกำลังกาย วันละ 30 – 60 นาที และอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
4.ควรควบคุมควบความรู้สึก และอารมณ์ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงสถานที่ ที่ขายขนม หรือ สิ่งที่กระตุ้นให้หิว
5.ควรควบคุมแคลลอรี่ในอาหาร ต่อวัน
– ผู้ใช้แรงงาน = 2,400 kcal/วัน
– วัยรุ่น = 2,000 kcal/วัน
– ชายวัยทำงาน = 2,000 kcal/วัน
– หญิงวัยทำงาน = 1,600 kcal/วัน
– ผู้สูงอายุ = 1,600 kcal/วัน
– เด็กอายุ 6-13ปี = 1,600 kcal/วัน
เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะอ้วน
การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก(กิโลกรัม) / ส่วนสูงยกกำลัง 2 (เมตร)
– ปกติ อยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 กิโลกรัม / ตารางเมตร
– ผอม หรือ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน < 18.5 กิโลกรัม / ตารางเมตร
– น้ำหนักเกิน มีค่าระหว่าง 25 – 29.9 กิโลกรัม / ตารางเมตร
– เป็นโรคอ้วน มีค่าตั้งแต่ 30 กิโลกรัม / ตารางเมตร
กิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน ได้ถึง 150 กิโลแคลลอรี่ มีดังนี้
1.การเดิน 3.2 กม. เป็นเวลา 30-45 นาที
2.การเดินขึ้นลงบันได 15 นาที
3.การเล่นกีฬาฟุตบอล วอลเลห์บอล บาสเกตบอล เป็นเวลา 30-45 นาที
4.การปั่นจักรยาน 30-40 นาที
5.กระโดดเชือก 15 นาที
6.ถูพื้น 45-60 นาที
7.ล้างรถยนต์ 40-60 นาที
หากว่าคุณสำรวจ และตรวจสอบตัวเองแล้วว่า คุณเป็นโรคอ้วนลงพุง ก็ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันที เพราะถ้าหากช้าไป คุณอาจจะพบกับภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นโรคร้ายบางประเภทไปแล้ว ที่สำคัญอย่าละเลย ว่าโรคอ้วนลงพุงเป็นเรื่องไม่สำคัญ เพราะว่ามันสำคัญมาก สำหรับชีวิตเลยทีเดียว