เคยสงสัยกันไหมว่าบางครั้งรอย ฟกช้ำ เกิดขึ้นกับคุณได้ยังไง โดยที่คุณเองก็ไม่ทราบสาเหตุ ว่าทำไมถึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น ซึ่งหลายครั้งก็ทำให้เกิดความกังวล เป็นอย่างมาก
เราจึงได้รวบรวมความคิดเห็นของแพทย์ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในร่างกาย ถ้าหากคุณมีรอยฟกช้ำที่ผิวหนัง ควรให้ความสนใจ และรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
ฟกช้ำ เกิดจากอะไรกันแน่ ?
1. โรคเลือด
รอยช้ำอาจมีสาเหตุมาจากโรคเลือด หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งมักเกิดจากการไหลเวียนของโลหิต ที่มีปัญหา
และหากพบว่าคุณมีอาการขาบวม ปวดขา มีเลือดออกตามเหงือก และตามเส้นเลือดฝอยเป็นจุดเล็กๆ หรืออาจมีเลือดกำเดาไหล ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
2. ฮอร์โมนไม่สมดุล
ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด สำหรับอาการฟกช้ำ โดยมักจะปรากฏหากคุณมีเอสโตรเจนต่ำ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน กำลังใช้ยาฮอร์โมน หรือขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จะทำให้หลอดเลือด และผนังเส้นเลือดฝอยอ่อนแอลงอย่างมาก
3. โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน มีอิทธิพลในทางลบ ต่อกระบวนการไหลเวียนของโลหิต จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย ซึ่งเป็นอาการเริ่มในระยะแรก ของโรคนี้
และถ้าหากพบว่าคุณมีอาการเหนื่อยเร็ว สายตาพร่ามัว กระหายน้ำ และมีจุดสีขาวบนผิวหนัง ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
4. ออกกำลังกายยกน้ำหนัก
การออกกำลังกาย โดยฝึกยกน้ำหนัก หรือการออกกำลังกายหนักมากเกินไป สามารถนำไปสู่ความเสียหายของเส้นเลือดฝอย เพราะการยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก ในขณะที่ร่างกายยังไม่พร้อม อาจเป็นอันตรายได้
ซึ่งอาการฟกช้ำจากสาเหตุนี้ เป็นการบอกว่าร่างกายของคุณ ทำงานหนักมากเกินไป
5. ขาดสารอาหาร
รอยฟกช้ำ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่า มีสาเหตุมากจากสิ่งใด นั่นอาจหมายถึง ร่างกายของคุณ กำลังขาดวิตามิน เช่น
- วิตามิน B12 ( ชีส ตับ และผักกาดหอม ฯลฯ ) ที่มีส่วนในการผลิตเลือด
- วิตามิน K ( ถั่ว ปลา และกล้วยไข่ ฯลฯ ) มีส่วนรับผิดชอบการแข็งตัว
- วิตามิน P ( แอปเปิ้ล ชาเขียว กระเทียม และฟักทอง ฯลฯ ) มีส่วนในการผลิตคอลลาเจน ป้องกันการเสื่อมสภาพของผิวหนัง
- และวิตามิน C ( ผักชี ส้ม และฝรั่ง ฯลฯ ) มีบทบาทสำคัญในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- ธาตุเหล็ก มีความสำคัญต่อความสมดุลของร่างกายอย่างมาก เมื่อมีการขาด หรือมีมากเกินไป ก็อาจทำให้เส้นเลือดฝอยแย่ลง
การขาดวิตามิน อาจจะทำให้ร่างกายของคุณบอบบาง เกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย ดังนั้นควรปรับเปลี่ยน อาหารของคุณ หากพบอาการฟกช้ำเกิดขึ้น
6. อายุ
ด้วยกฏที่เป็นไปตามธรรมชาติ ที่ส่งผลทำให้เมื่อคุณมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เส้นเลือดฝอย เกิดการสึกหรอ ระบบหลอดเลือดอ่อนแอลง และเนื้อเยื่อจะสูญเสียความยืดหยุ่น
ซึ่งคุณควรสังเกตุว่ารอยฟกช้ำ มีความสัมพันธ์กับอายุหรือไม่ แต่หากว่าคุณยังอ่อนเยาว์อยู่ นี่อาจไม่ใช่เหตุผล ของการฟกช้ำแน่นอน
7. กินยาบางชนิด
การใช้ยาบางชนิด ที่มีอิทธิพลต่อเลือด สามารถนำไปสู่การปรากฏตัว ของรอยฟกช้ำ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากยากล่อมประสาท แก้ปวด ต้านการอักเสบ ยาที่มีธาตุเหล็ก หรือยารักษาโรคหอบหืด
แต่ยาที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งทำให้เกิดรอยฟกช้ำ คือ แอสไพริน หากคุณสังเกตุเห็นสาเหตุ ที่มีความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยา อาจเป็นไปได้ว่าคุณต้องหยุดใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเลือดภายใน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
รอยฟกช้ำ จากอาการบาดเจ็บ

- ทันทีหลังได้รับอาการบาดเจ็บ รอยฟกช้ำจะมีสีแดง ซึ่งคือสีของเลือดใต้ผิวหนัง
- หลังจากเวลาผ่านไป ร่างกายจะเริ่มสลายเลือด รอยช้ำก็จะกลายเป็นสีม่วง สีน้ำเงิน หรือสีดำ
- ภายใน 5 ถึง 10 วัน รอยฟกช้ำจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือสีเขียว
- และ 10 ถึง 14 วัน บริเวณดังกล่าวจะกลายเป็นสีน้ำตาล
โดยปกติ รอยฟกช้ำจะจางหายไปอย่างสมบูรณ์ ภายใน 2 สัปดาห์ ดังนั้นหากพบว่า รอยช้ำมีสีที่แตกต่าง หรือไม่หายไปภายใน 2 สัปดาห์ ก็ควรรีบไปพบแพทย์
คุณเคยสังเกตุเห็นรอยฟกช้ำ บนร่างกายของคุณบ้างหรือไม่ ? แต่หากพบว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น จนเป็นเรื่องผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่เรียกว่า ” นักโลหิตวิทยา “