ฝี ดาษ อาการที่ควรเฝ้าระวัง เชื้อร้ายที่กำลัง จะกลับมา

ฝี ดาษ หรือ ไข้ทรพิษ เป็นเชื้อไวรัส ที่พบได้ยากในปัจจุบัน เป็นเชื้อที่แพร่กระจาย จากสัตว์มาสู่มนุษย์ และเป็นโรคที่ ไม่มีวัคซีนในการรักษา โดยส่วนใหญ่จะหายไปเอง แต่ถึงแม้ว่า เชื้อจะพบได้ยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อได้สูญหายไปแล้วจากโลก เพียงแต่จะพบได้ใน แหล่งที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มทหาร จากอาวุธชีวภาพ

ฝี

ฝี ดาษ หรือ ไข้ทรพิษ เป็นเชื้อไวรัส ที่พบได้ยากในปัจจุบัน เป็นเชื้อที่แพร่กระจาย จากสัตว์มาสู่มนุษย์ และเป็นโรคที่ ไม่มีวัคซีนในการรักษา โดยส่วนใหญ่จะหายไปเอง แต่ถึงแม้ว่า เชื้อจะพบได้ยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อได้สูญหายไปแล้วจากโลก เพียงแต่จะพบได้ใน แหล่งที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มทหาร จากอาวุธชีวภาพ

และขณะนี้มีรายงานว่า มีชาวอังกฤษที่ป่วย และคาดว่า อาจเป็นการป่วย ที่มาจาก ไข้ทรพิษจากโรคฝีดาษ ที่ได้รับการแพร่เชื้อ มาจากผู้ที่เดินทาง มาจากไนจีเรีย แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีรายงาน การได้รับเชื้อนี้ ซึ่งมีบันทึกไว้ว่า ประเทศไทย เคยมีโรคฝีดาษ ระบาดรุนแรง ครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2504

อาการของโรค ฝี ดาษ

– มีอาการเป็นไข้

ปวดศีรษะ อาเจียน

– มีอาการชัก และหมดสติ

– ต่อมน้ำเหลืองบวมโต



– อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง

– มีอาการปวดหลัง อย่างรุนแรง

– ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

– มีผื่นแดงขึ้น โดยเฉพาะใบหน้า แขนและขา

– มีผื่นลุกลาม จนเกิดเป็นแผล

ถึงแม้ว่า ปัจจุบันจะไม่มีวัคซีน ในการรักษาโรคฝีดาษ เพราะปัจจุบัน วัคซีนป้องกันมีไว้ สำหรับเฉพาะกับหน่วยทหาร หรือผู้ที่ทำงาน ที่มีความเสี่ยงสูง ในการได้รับเชื้อเท่านั้น แต่สำหรับหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยเอง ก็มีวิธีป้องกัน โดยการปลูกฝี บริเวณแขน ซึ่งถือได้ว่า ค่อนข้างมีความปลอดภัยสูง ในการป้องกันโรคฝีดาษ

ฝี
ฝี

โรคฝีดาษ โดยส่วนใหญ่ เป็นภาวะที่ไม่รุนแรง ในผู้ใหญ่มากนัก ซึ่งสามารถหายได้เอง แต่อาจมีผลกระทบ ที่รุนแรง หากพบเชื้อโรคฝีดาษ ในเด็กเล็ก

แต่อย่างที่กล่าวไปว่า โรคฝีดาษ เป็นโรคที่พบได้ยาก แล้วเชื้อถูกส่งผ่าน จากสัตว์มายังมนุษย์ แต่การแพร่กระจายเชื้อ จากมนุษย์สู่มนุษย์ ก็เป็นเรื่องที่ มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควร เฝ้าระวัง เพราะโรคนี้ เคยมีผู้ที่ได้รับเชื้อ แล้วเสียชีวิต อีกทั้งเชื้อ ยังสามารถแพร่กระจาย ไปในทางอากาศ ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าตอนนี้ โรคฝีดาษ จะยังไม่พบหรือ แพร่กระจายในประเทศไทย ก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องควรเฝ้าระวัง โดยเฉพาะการแพร่ของเชื้อ จากนักเดินทาง หรือ นักท่องเที่ยว ที่เดินทางกลับมาจาก แหล่งที่มีเชื้ออยู่มาก เช่น ไนจีเรีย ที่พบว่าในเดือนกันยายน 2560 ไนจีเรีย ประสบกับปัญหา การระบาดของโรคฝีดาษ อย่างหนัก

ผู้เขียน: ofezsoft

เผยแพร่ ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ, เทคนิคดูแลสุขภาพ เคล็ดลับความงาม, อ่อนเยาว์, สอนสร้างโปรแกรม (Website), สอนสร้าง API, SEO, Facebook, Line, Social, รับทำเว็บไซต์, รับทำเว็บ App