มนุษย์ทุกคนย่อมต้องมีความฝัน โดยเฉพาะความฝันขณะนอนหลับ แน่นอนว่าไม่มีมนุษย์คนใดที่ไม่เคยฝัน ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก หรือวัยผู้ใหญ่ ก็ต้องมีความฝันอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ความฝันที่แตกต่าง และน่ากลัวอย่างการ ฝัน ที่เป็นฝันร้าย ทำให้ใครหลายคนต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมาฉับพลัน และเกิดความหวาดกลัว
การฝันร้ายมักเป็นเรื่องปกติ ในหมู่เด็กๆ มากกว่าผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฝันร้ายจะไม่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่เลย โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หญิง มักพบกับฝันร้ายบ่อยครั้งมากกว่าผู้ชาย
การนอนหลับ เป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย ถือได้ว่าเป็นการพักผ่อน ผ่อนคลาย และรีบูตร่างกายใหม่ เพื่อให้ดีและเตรียมพร้อม สำหรับวันรุ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากเมื่อใดที่ฝันร้ายคอยก่อกวน ก็อาจทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้วันรุ่งขึ้นเกิดอาการอ่อนเพลีย และรู้สึกเมื่อยล้า
และอาจส่งผลกระทบในระยะยาวได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ฯลฯ และที่อันตรายมากที่สุด พบว่าผู้ที่ฝันร้ายบ่อยครั้ง อาจเชื่อมโยงกับปัญหาทางด้าน สุขภาพจิต ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ต่อการทำร้ายตนเอง และฆ่าตัวตาย

6 ที่มาของความ ฝัน เรื่องแปลกและน่าสงสัย
1. การกินอาหาร
นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย-อเมริกัน และนักวิจัยการนอนหลับ ชี้ให้เห็นว่าการทานอาหารว่าง ในตอนดึก เป็นสาเหตุหนึ่งของการฝันร้าย เพราะการทานอาหารก่อนเข้านอน จะส่งผลทำให้สมองทำงานหนักมากยิ่งขึ้น ขณะนอนหลับอยู่ รวมไปถึงการทำงานของระบบเผาผลาญ ที่ทำงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้พวกเขาเหล่านั้น ประสบกับการนอนฝันร้าย
การศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 2015 พบว่า 9.5 % มีบุคคลที่มีฝันร้าย หลังจากการทานอาหารมื้อดึก และการศึกษาจากการสำรวจ นักเรียนเกือบ 400 คน ที่พวกเขาเก็บบันทึก เมนูอาหารที่พวกเขากินในมื้อดึก และพบกับฝันที่มหัศจรรย์ และน่ารำคาญ เป็นอาหารจำพวกไอศครีม และผลิตภัณฑ์จากนม และยังพบอีกว่า อาหารรสเผ็ดสามารถส่งผลต่อ การฝันร้ายได้
2. การดื่มแอลกอฮอล์
แม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยทำให้คุณหลับง่าย สงบในช่วงแรก ของการเข้านอนก็ตาม แต่ทราบหรือไม่ว่า แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กล่อมประสาท ซึ่งเกิดขึ้นขณะนอนหลับ ส่งผลให้เกิดฝันร้าย และการนอนละเมอ
3. ลักษณะบุคลิกภาพ
งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า ลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง หรือลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ส่งผลต่อความฝันที่ไม่ดีได้เช่นกัน โดยในการศึกษาในปี 2544 ได้ทำการสำรวจบุคคลที่กำลัง ประสบกับฝันร้าย 2 ครั้ง/เดือน พบว่าผู้ที่มักมีความฝันที่ไม่ดี เป็นผู้ที่มีความอ่อนไหวง่าย
และยังมีการศึกษาอีกชิ้นพบว่า ผู้ที่มีความสนใจในด้านศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ มีแนวโน้มที่จะพบกับความฝันที่ไม่ดี หรือมักฝันร้ายเป็นประจำ
4. ความคิดเชิงลบ
สมองของมนุษย์ มีการทำงานที่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากการนอนหลับ ไปพร้อมกับความคิดเชิงลบเป็นประจำทุกวัน ส่งผลทำให้สมองเต็มไปด้วยความคิดเชิงลบ ในขณะการนอนหลับ ส่งผลทำให้เกิดฝันร้าย
จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง หดหู่ โศกเศร้า และมักมีทัศนคติเชิงลบ มักจะประสบกับฝันร้ายบ่อยครั้ง
5. การทานยาบางชนิด
สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่ต้องทานยาบางชนิดเป็นประจำ ส่งผลต่อการเกิดความฝันที่ไม่ดี หรือฝันร้าย เช่น ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า ภูมิแพ้ อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และเอดส์ ฯลฯ
หากคุณพบว่า การรักษาอาการป่วย ด้วยวิธีการทานยาเหล่านี้ ส่งผลฝันร้ายที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อจิตใจ และคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรง ก็ควรปรึกษาแพทย์ของคุณ
6. ความเครียด
ความเครียด เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของฝันร้าย โดยนักบำบัดที่เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วย ที่มีอาการทางจิต และจิตเวชในนิวยอร์ก กล่าวว่า ” ฝันร้ายเป็นจินตนาการของเรา เช่นเดียวกับสิว ที่มักปรากฏขึ้นหลังจาก ที่มีการสะสมของสิ่งสกปรกและแบคทีเรีย ที่เกิดกับผิวหนังที่มากเกินไป ฝันร้ายที่มาจากการสะสมของ ความเครียด ความวิตกกังวล ก็เช่นกัน “
ป้องกันฝันร้ายได้อย่างไร ?
– ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยไม่ควรทานอาหารในมื้อดึก หรือก่อนเข้านอน
– การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำบ่อยครั้ง
– การฝึกสมาธิ และบำบัดสุขภาพจิตให้ดีขึ้น เช่น การฝึกโยคะ ฯลฯ มีส่วนช่วยได้ดีอย่างมาก
– ปรับทัศนคติ ให้มองทุกอย่างในแง่บวก
– หลีกเลี่ยงภาวะเครียด และความวิตกกังวล
– ควรเลิกดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ฝันร้ายไม่ใช่เรื่องที่ต้องกลัว แต่หากคิดไปอีกมุมมองหนึ่ง ค่อนข้างจะใช้เป็นเครื่องมือ สำหรับช่วยจัดการ ประเมิน และปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ โดยรวมของคุณให้ดีขึ้นได้
การฝันร้ายเป็นครั้งคราว อาจส่งผลทำให้คุณ ไม่สามารถนอนหลับได้ ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ในวันรุ่งขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่เป็นอันตราย และในความเป็นจริง อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ เพราะมันเป็นจิตใต้สำนึกของคุณ ที่คอยแจ้งเตือนบางสิ่งบางอย่าง ให้ทราบถึงความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของคุณ ที่ไม่อาจละเลย และต้องการการแก้ไขให้ถูกต้อง
ฝันร้ายไม่ใช่ภัยคุกคาม ต่อการนอนหลับ หรือส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพของคุณ แต่หากว่าเมื่อใดที่คุณ มีฝันร้าย ที่ส่งผลจนทำให้ไม่อยากนอนหลับ และส่งผลกระทบไปยัง คุณภาพชีวิตด้านอื่นในทางเชิงลบ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว