การเลือกทานผักและผลไม้เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนรักสุขภาพ จึงทำให้ ผักสลัด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกเลือกให้อยู่ในเมนูอาหาร ซึ่งแน่นอนว่าเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย แต่หารู้ไม่ว่า หากว่าคุณเลือกทานผักแบบผิดๆ ก็อาจเสี่ยงโรคได้เช่นกัน
ผักสลัด ภัยเงียบเสี่ยงมะเร็ง !

ปัจจุบันผักสลัดส่วนใหญ่ได้ถูกผลิตด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ปลอดภัย สามารถปลูกได้ง่าย ในพื้นที่ที่จำกัด ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่ถึงแม้ว่าการผลิตผักในระบบไฮโดรโพนิกส์จะมีความปลอดภัย ในระบบการผลิตที่สะอาด แต่ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผักที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร
โดยเฉพาะเรื่องการสะสมของไนเตรต ซึ่งเป็นอนุมูลของไนโตรเจน ที่มีอยู่มากในสารละลายธาตุอาหาร ซึ่งพบมากในผักที่รับประทานใบ
ซึ่งถ้าหากมีการบริโภคผักที่มีไนเตรตสะสมอยู่ปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เพราะเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ไนเตรตจะถูกรีดิวส์เป็นไนไตรท์ ซึ่งไนไตรท์สามารถทำปฏิกิริยากับเอมีน (Amine) ในอาหาร กลายเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรง คือ ไนโตรซามีน (Nitrosamine) ที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร
ปริมาณการสะสมของไนเตรตในพืชนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช อายุพืช เวลาเก็บเกี่ยว ความเข้มแสง ฤดูกาล และชนิดของปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้กับพืช
สภาพที่มีความเข้มแสงน้อย พืชจะมีการสะสมไนเตรตสูงกว่า ซึ่งในประเทศไทยหรือประเทศเขตร้อน จะมีความเข้มแสงสูง ดังนั้นการสะสมไนเตรตของพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์จึงเกิดขึ้นได้น้อยกว่า ประเทศทางแถบยุโรป

จากการทดลองวิเคราะห์ปริมาณไนเตรท ในผักไฮโดรโพนิกส์ที่ปลูกในแปลงทดลอง ของคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำการทดสอบหลายปัจจัยด้วยกัน พบว่าปริมาณไนเตรตที่พบน้อยกว่าค่ามาตรฐานอยู่มาก
ดังนั้นจึงมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า ผักไฮโดรโพนิกส์ที่ปลูกในบ้านเรา ยังมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณของผู้ผลิตด้วย ว่าจะมีการจัดการในระบบการผลิตให้มีความความเหมาะสมแค่ไหน สำหรับการลดการสะสมของไนเตรตในผัก
15 ประโยชน์ของผักสลัด
ข้อมูลอ้างอิงจาก : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี