อาการ ปวดข้อมือ ที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยกลางคน จนถึงวัยผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการใช้มือทำงานแบบเดิมซ้ำๆ บ่อยครั้ง และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลทำให้เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกด จนทำให้เอ็นข้อมือ เกิดอาการอักเสบได้
อาการ ปวดข้อมือ

- รู้สึกปวด ชา มืออ่อนกำลัง ไม่ค่อยมีแรงที่มือ
- มีอาการปวดมากในตอนกลางคืน มากกว่ากลางวัน
- รู้สึกเจ็บมาก หากขยับนิ้วหัวแม่มือ
สาเหตุของอาการปวดข้อมือ
- กลุ่มคนวัยทำงาน ที่ทำงานซ้ำๆ บ่อยครั้งเป็นเวลานาน ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี เช่น การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ งานฝีมือเย็บปักถักร้อย งานในโรงงาน ฯลฯ
- การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือการเคลื่อนไหวของข้อมือผิดท่า หรือทำซ้ำๆ เช่น กีฬาเทนนิส ยกน้ำหนัก โบว์ลิ่ง กีฬากอล์ฟ ฟุตบอล สโนว์บอร์ด และยิมนาสติก ฯลฯ
- เกิดจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บฉับพลัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อข้อมือโดยตรง เช่น เคล็ดขัดยอก กระดูกแตกหัก ข้ออักเสบ ฯลฯ
- เกิดจากผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเกาต์ โรคเบาหวาน เนื้องอกบริเวณข้อมือ โรคไขข้อ โรคข้ออักเสบ และโรคต่อมไทรอยด์
- อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ในบางราย
- ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
วิธีการป้องกัน
- ควรเปลี่ยนท่า หรือพักมือบ้าง หากใช้งานเป็นระยะเวลานาน
- ควรนวดเบาๆ เพื่อผ่อนคลายเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ
- ลดการเกร็งมือและข้อมือ ขณะใช้งาน
- ควรใช้งานมือในท่าที่ถูกต้อง ไม่งอข้อมือ
- ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือ เคลื่อนไหวหรือเกร็ง ในท่าเดิมซ้ำๆ นานเกินไป
วิธีการรักษาอาการปวดข้อมือ
การรักษาขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในแต่ละรายอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยมีการรักษาดังนี้
- การใช้ยารักษา เช่น ยาแก้อักเสบ
- การดามข้อมือ
- การฉีดยา
- การทำกายภาพบำบัด
- การผ่าตัด
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองเริ่มมีอาการปวดข้อมือ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งอาจจะหายขาดได้ หากรักษาก่อน 6 เดือน แต่หากมีอาการเรื้อรังนาน 4 – 5 เดือน แล้วไม่รีบทำการรักษา อาจส่งผลทำให้มีอาการปวดตลอดเวลา