ถ่ายเป็นเลือด 13 สาเหตุ อาการเสี่ยง ริดสีดวงทวารหนัก

ถ่ายเป็นเลือด หรือ อุจจาระมีเลือด เป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งกำลังบ่งบอกถึง การเกิดโรค ได้หลายชนิด และนั่นอาจเป็น สัญญาณเตือน ที่น่ากลัว เพราะไม่แน่ว่า มันอาจเกิดเป็น ปัญหาที่ร้ายแรง สำหรับสุขภาพของคุณ อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งจริงๆแล้ว ลักษณะของ อาการถ่ายเป็นเลือด ก็มีอยู่ด้วยกัน หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร โรคกระดูกเชิงกราน อาการลำไส้อักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร หรือที่อันตรายที่สุด คือ อาการของมะเร็ง

ถ่ายเป็นเลือด

ถ่ายเป็นเลือด หรือ อุจจาระมีเลือด เป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งกำลังบ่งบอกถึง การเกิดโรค ได้หลายชนิด และนั่นอาจเป็น สัญญาณเตือน ที่น่ากลัว เพราะไม่แน่ว่า มันอาจเกิดเป็น ปัญหาที่ร้ายแรง สำหรับสุขภาพของคุณ อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งจริงๆแล้ว ลักษณะของ อาการถ่ายเป็นเลือด ก็มีอยู่ด้วยกัน หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร โรคกระดูกเชิงกราน อาการลำไส้อักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร หรือที่อันตรายที่สุด คือ อาการของมะเร็ง

และยังมีอีกสาเหตุ ที่เชื่อว่า ใครหลายคน คงได้ยินจนคุ้นหู คือ ริดสีดวงทวาร แต่อาจจะยังไม่ทราบ อย่างแน่ชัดว่า อาการริดสีดวงทวาร มีอาการแบบไหน แล้วเกิดจากอะไรกันแน่ วันนี้เรามีคำตอบ เรื่องริดสีดวงทวาร มาแนะนำ เป็นเกร็ดความรู้ เพื่อจะได้ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่กำลังกังวล หรือ สงสัย ว่าตนเอง มีอาการเป็น ริดสีดวงทวาร หรือไม่ ?

ถ่ายเป็นเลือด เกิดจากริดสีดวงทวาร ยังไง ?

ริดสีดวงทวาร เกิดจากเส้นเลือดดำ ที่ปลายทวารหนัก เกิดอาการอักเสบ บวมพองออกมา จึงทำให้เกิด เป็นตุ่มริดสีดวง และในบางราย ตุ่มริดสีดวง อาจหลุด หรือ ยื่นออกมาด้านนอก ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการเจ็บ และทรมาน ทำให้ลำบาก ในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเวลาไอ จาม การเดิน หรือ การนั่ง ฯลฯ ก็จะสร้างความรำคาญ ให้กับผู้ป่วย เป็นอย่างมาก

ริดสีดวงทวาร มีอยู่ 2 ประเภท

1. ริดสีดวงภายใน เกิดขึ้นภายใน บริเวณทวารหนัก บริเวณส่วนปลาย ของลำไส้ใหญ่ ที่เชื่อมติดกับ ทวารหนักส่วนบน

2. ริดสีดวงภายนอก เกิดขึ้นบริเวณ ทวารหนักส่วนล่าง ซึ่งจะแสดงอาการ ให้เห็นชัดเจน มีอาการเจ็บ มากกว่าริดสีดวงภายใน

สาเหตุของริดสีดวงทวาร

1. ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงมากกว่า ผู้ที่มีอายุน้อย

2. ผู้ที่ไม่รับประทาน ผัก และผลไม้ ทานแต่เนื้อสัตว์ และไขมัน

3. ผู้ที่ทานยาระบาย เป็นประจำ ส่งผลให้ระบบ การทำงานของลำไส้ ผิดปกติ ส่งผลทำให้การขับถ่าย ไม่เป็นเวลา

4. ผู้ที่ชอบเบ่ง เวลาถ่ายอุจจาระ

5. ผู้ที่มีอาการท้องผูก เรื้อรัง

6. ผู้ที่ท้องเสีย เป็นประจำ หรือ บ่อยครั้ง มากเกินผิดปกติ

7. ผู้ที่ชอบนั่ง ถ่ายอุจจาระ เป็นเวลานาน

8. เกิดจากกรรมพันธุ์ ผู้ที่ครอบครัว มีประวัติ การเกิด โรคริดสีดวงทวาร

9. หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของฮอร์โมน และ ระบบการทำงานของ ร่างกาย ขณะตั้งครรภ์ จึงมีความเสี่ยงสูง กับการเกิดอาการ ริดสีดวงทวาร

10. ผู้ที่มีน้ำหนัก เกินมาตรฐาน หรือ เป็นโรคอ้วน

11. ผู้ที่ยืนเป็นเวลานาน มีผลทำให้ หลอดเลือดดำ บริเวณทวารหนักโป่งพอง

12. ผู้ที่มีเพศสัมพันธุ์ ทางทวารหนัก

13. ผู้ที่ดื่มน้ำ ไม่เพียงพอ



อาการของริดสีดวงทวาร

1. มีอาการเจ็บ บริเวณขอบทวารหนัก

2. ถ่ายอุจจาระ มีเลือดปนออกมา ลักษณะของเลือด เป็นสีแดงสด

3. มีเลือดไหล ออกมาทางทวารหนัก หลังขับถ่ายอุจจาระ

4. มีอาการท้องผูก นั่งขับถ่ายเป็นเวลานาน ขับถ่ายลำบาก

5. มีอาการคัน บริเวณทวารหนัก

6. มีติ่งยื่นออกมา ทางทวารหนัก

วิธีการรักษา ริดสีดวงทวาร ด้วยตัวเอง

วิธีที่ 1 ว่านหางจระเข้ ( ช่วยรักษา )

1. นำว่านหางจระเข้ ทำความสะอาด ให้เรียบร้อย

2. แล้วนำมาปลอกเปลือก เหลาให้เป็นแท่ง ให้เหลือแต่วุ้นด้านใน

3. หลังจากนั้น นำว่านหางจระเข้ ไปแช่ตู้เย็น เพื่อให้เซ็ทตัว ให้แข็งขึ้น

4. หลังจากนั้น นำว่านหางจระเข้ ที่เซ็ทตัวดีแล้ว นำมาเหน็บ เข้าในช่องทวารหนัก

5. ทิ้งไว้ประมาณ 15 – 20 นาที

( ควรทำเป็นประจำ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง )

วิธีที่ 2 ด่างทับทิม ( ช่วยบรรเทา และ ลดอาการอักเสบ )

1. เตรียมน้ำอุ่น ใส่ในอ่าง หรือ กะละมัง ผสมด่างทับทิมลงไป พอให้เป็นสีชมพู

2. หลังจากนั้น นั่งแช่ลงไป ประมาณ 15 – 20 นาที

( ควรทำเป็นประจำ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง )

หากมีอาการ ริดสีดวงทวาร ขั้นที่รุนแรง ควรใช้วิธีการรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะถ้าหาก อาการลุกลาม หนักมากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบ ที่มีอันตราย ไปสู่อาการอื่นได้ เช่น อาการตกเลือด ลิ่มเลือดอุดตัน หรือ การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ฯลฯ

การรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ขึ้นอยู่กับอาการ และ ความรุนแรงของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับ การวินิจฉัยของแพทย์ เช่น การผ่าตัด การเหน็บยา การฉีดยา การใช้ยางรัด ฯลฯ เป็นต้น

ถ่ายเป็นเลือด
ถ่ายเป็นเลือด

วิธีป้องกัน ริดสีดวงทวาร

1. ควรออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้น ระบบการทำงาน ของลำไส้

2. ควรเลือกรับประทาน อาหารที่มี กากใยสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช ฯลฯ

3. ควรดื่มน้ำเปล่า ให้ได้อย่างน้อย วันละ 8 แก้ว

4. ไม่ควรเบ่ง ขณะอุจจาระ

5. ควรหลีกเลี่ยง สาเหตุของ ความเครียด เพราะความเครียด ส่งผลโดยตรง ต่ออาการท้องผูก สาเหตุของ โรคริดสีดวงทวาร

6. ควรงดใช้ ยาระบาย เพื่อช่วยในการขับถ่าย

7. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยควรนอน ให้ได้วันละ 7 – 8 ชั่วโมง

8. ไม่ควรกลั้น อุจจาระ

9. ควรสร้างนิสัย การขับถ่าย ให้เป็นเวลา

อาการถ่ายเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร อาจไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรง และ ไม่ได้มีผลอันตราย ต่อชีวิตโดยตรง แต่หากพบว่า ตนเองมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพราะถ้าหากปล่อยไว้ เป็นเวลานาน ก็จะส่งผลอันตราย ต่อสุขภาพ ได้เช่นกัน

ผู้เขียน: ofezsoft

เผยแพร่ ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ, เทคนิคดูแลสุขภาพ เคล็ดลับความงาม, อ่อนเยาว์, สอนสร้างโปรแกรม (Website), สอนสร้าง API, SEO, Facebook, Line, Social, รับทำเว็บไซต์, รับทำเว็บ App