ความดันโลหิตสูง 9 ข้อควรระวัง รักษา สาเหตุ อาการ

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายอันตรายถึงชีวิต ที่ไม่ควรมองข้าม และผู้ที่มีอายุน้อย อย่าได้คิดว่าจะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะความดันโลหิตสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ที่มีอายุน้อยตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว แต่โดยปกติตามธรรมชาติแล้ว โรคความดันโลหิตสูงมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งโรความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง มีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แล้วหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง ก็จะส่งผลทำให้หลอดเลือดแข็ง และตีบตัน ทำให้อวัยวะส่วนสำคัญเสื่อมลง

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายอันตรายถึงชีวิต ที่ไม่ควรมองข้าม และผู้ที่มีอายุน้อย อย่าได้คิดว่า จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะความดันโลหิตสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว แต่โดยปกติตามธรรมชาติแล้ว โรคความดันโลหิตสูง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง มีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง ก็จะส่งผลทำให้หลอดเลือดแข็ง และตีบตัน ทำให้อวัยวะส่วนสำคัญเสื่อมลง

ความดันโลหิตสูง มี 2 สาเหตุ

1.ความดันสูง แบบไม่ทราบสาเหตุ

โดยส่วนใหญ่แล้ว ร้อยละ 95 ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ว่าเกิดโรคความดันโลหิตสูงขึ้นกับตนเองได้อย่างไร โดยสาเหตุที่ทราบอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ของผู้ป่วยเอง เช่น อาจเป็นโรคอ้วน ตกอยู่ในสภาวะเครียด รับประทานอาหารรสเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ รวมไปถึงไม่ชอบออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

และประเด็นสำคัญคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แบบไม่ทราบสาเหตุ จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะการแทรกซ้อน ของโรคร้ายอื่นๆ

2.ความดันสูง แบบทราบสาเหตุ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แบบทราบสาเหตุ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะหายขาดไปเอง หากผู้ป่วยตรวจพบต้นเหตุที่แท้จริง แล้วได้รับการรักษาที่ถูกวิธี โดยกลุ่มผู้ป่วยร้อยละ 5 มักจะตรวจพบความดันโลหิตสูง เมื่อได้รับการตรวจจากแพทย์ เนื่องด้วยมีอาการป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือด โรคต่อมหมวกไต โรคไต โรคความดันสูงในหญิงตั้งครรภ์ หรือ จากการทานยาบางชนิดที่มีผลต่อความดัน

อันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง

1.ตา เป็นเหตุทำให้สายตาผิดปกติ เช่น ทำให้สายตาพร่ามัว สายตาเสื่อมสภาพ อันตรายไปถึงทำให้ตาบอดได้

2.สมอง ส่งผลทำให้เนื้อสมองบางส่วนตาย เนื่องจากขาดเลือด หรือหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นอัมพาต และรุนแรงไปถึงการเสียชีวิตได้

3.ไต อาจทำให้เกิดภาวะไตวาย ส่งผลทำให้มีการคลั่งของสาร ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เสียชีวิตได้

4.หัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นเหตุให้หัวใจวายเฉียบพลัน แล้วเสียชีวิตในที่สุด

อาการ โรคความดันโลหิตสูง

1.มักไม่แสดงอาการ จนกว่าจะตรวจพบ

2.มักมีอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย หอบ

3.สายตาพร่ามัว และเสื่อมสภาพ

4.มักมีอาการมึนงง และเวียนศีรษะ

5.เลือดกำเดาไหลออกมา โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ

6.มีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย และมักเกิดอาการปวดขึ้นในตอนเช้า

7.แขนขามีอาการอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง

8.พูดไม่ชัด

9.มีอาการบวมที่เท้า



ข้อควรระวัง ของผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูง

1.ควรออกกำลังกาย ให้เหมาะกับสภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ เดิน ฯลฯ

2.ควรควบคุมน้ำหนัก ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน

3.ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด

4.ไม่ควรดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น สุรา ฯลฯ

5.ไม่ควรสูบบุหรี่

6.ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่ส่งผลกระทบ เช่น อาหารที่มีโซเดียมสูง ไขมันจากสัตว์ อาหารหมักดอง อาหารกึ่งสำเร็จรูป และ เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร

7.ไม่ควรผิดนัดแพทย์ เมื่อนัดตรวจ

8.ไม่ควรละเลย ในการตรวจวัดความดันโลหิต อย่างสม่ำเสมอ

9.ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือคำสั่งจากแพทย์อย่างเคร่งครัด

หากคุณพบว่า คุณกำลังประสบปัญหา กับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ หรือมีอาการผิดปกติที่คล้ายว่าจะเป็น ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อจะได้รักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรดูแลสุขภาพตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เริ่มต้นจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่ส่งผลอันตรายต่อโรคความดันโลหิตสูง

ผู้เขียน: ofezsoft

เผยแพร่ ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ, เทคนิคดูแลสุขภาพ เคล็ดลับความงาม, อ่อนเยาว์, สอนสร้างโปรแกรม (Website), สอนสร้าง API, SEO, Facebook, Line, Social, รับทำเว็บไซต์, รับทำเว็บ App