สำหรับคุณแม่ที่ คลอดก่อนกําหนด ( อายุครรภ์ช่วงระหว่าง 20 – 36 สัปดาห์ ) ถือได้ว่าเป็นภาวะเสี่ยงสูงมาก ต่อสุขภาพของเด็กในหลายด้าน เนื่องจากร่างกายของทารก ยังพัฒนาเติบโต ได้ไม่เต็มที่ขณะอยู่ในครรภ์ เรียกได้ว่ายังไม่พร้อมที่จะลืมตา ออกมาดูโลก
โดยปกติแล้ว ช่วงระยะเวลาสำหรับการตั้งครรภ์ ที่เหมาะสมและสมบูรณ์ จะมีอายุครรภ์ระหว่าง 37 – 40 สัปดาห์ ( ประมาณ 9 – 10 เดือน ) จึงจะถือได้ว่าเป็นระยะเวลา ที่ดีที่สุดและเหมาะสม สำหรับการคลอดบุตร เพราะร่างกายของทารกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
15 อาการอันตราย คลอดก่อนกำหนด
1. ส่งผลทำให้เด็กมีสุขภาพร่างกาย ที่ไม่แข็งแรง อ่อนแอเจ็บป่วยได้ง่าย
2. เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองสูง
3. เสี่ยงต่อปอดมีปัญหา ส่งผลให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน อาจทำให้กล้ามเนื้อสมองตายได้ ซึ่งเสี่ยงต่อสมองพิการสูง
4. มีปัญหาทางระบบหายใจ อาจทำให้หายใจลำบาก
5. เกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ มีอาการตัวเย็น

6. เกิดภาวะตัวเหลือง ซีด
7. เสี่ยงต่อการหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น
8. มีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่าเด็กปกติ มากถึง 4 เท่า
9. เด็กมีพัฒนาการที่ช้า หรืออาจมีไอคิวต่ำ
10. ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจมีความผิดปกติ
11. เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
12. เสี่ยงต่อลำไส้ขาด หรือเน่าเฉียบพลัน
13. มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
14. ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น เนื่องจากเส้นเลือดจอประสาทตา ยังไม่สมบูรณ์
15. เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารก
อาการและสัญญาณเตือน การคลอดก่อนกำหนด
1. มีอาการเจ็บครรภ์ โดยไม่ทราบสาเหตุ
2. มีอาการปวดร้าวบริเวณขา และหลัง
3. มีอาการท้องแข็ง ปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก และหัวหน่าว
4. มีเลือดคล้ายประจำเดือน ไหลออกมาทางช่องคลอด
5. มีมูกเลือด สีน้ำตาลปนเลือด ออกทางช่องคลอด
6. ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก ไหลออกมา
ปัจจัยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
1. คุณแม่ชอบทาน อาหารรสจัด
2. คุณแม่ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
3. การมีภาวะเครียด เกิดความเครียดสะสม
4. คุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป
5. การมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์
6. คุณแม่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และมีอายุมากกว่า 35 ปี ขณะตั้งครรภ์
7. คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ฝาแฝด เช่น แฝด 2 คน หรือมากกว่า
8. คุณแม่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ฯลฯ
9. การได้รับเชื้อ ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคหัดเยอรมัน
ฯลฯ
10. เกิดจากความผิดปกติของมดลูก
11. คุณแม่พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก
12. คุณแม่มีพฤติกรรมเดิน หรือนั่งติดต่อกัน เป็นระยะเวลานาน
13. การทานอาหารเสริม หรือยาบางชนิด
14. การทานอาหารที่ไม่เพียงพอ ขาดสารอาหาร
15. คุณแม่เคยมีประวัติ การคลอดก่อนกำหนด การแท้งบุตร หรือผ่าตัดมดลูก
หากพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอาการผิดปกติบางอย่าง ดังกล่าวเกิดขึ้น กับตนเองขณะตั้งครรภ์ ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และสำหรับคุณแม่ที่มีปัจจัยเสี่ยง ต่อการคลอดบุตรก่อนกำหนด ก็ควรงดหรือเลิกทำกิจกรรม หรือพฤติกรรมบางอย่างก่อน เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด สำหรับบางรายที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ และสิ่งที่สำคัญสำหรับคุณแม่ทั้งหลาย ก่อนการตั้งครรภ์ ควรตรวจความพร้อมก่อนมีบุตรก่อน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ส่งผลที่ดีต่อทั้งตัวคุณแม่เอง และลูกรักอย่างมาก