ข่า 12 ประโยชน์ ช่วยป้องกันโรค ฆ่าพยาธิ ฆ่ามะเร็ง รักษาสิว

ข่า ( Galanga ) สมุนไพรที่นิยม นำมาเป็นส่วนประกอบ ในอาหาร เช่น ต้ม ยำ แกง ฯลฯ โดยเฉพาะคนไทย ที่นิยมนำมา ใช้กันตั้งแต่โบราณ ถือได้ว่า เป็นสมุนไพร คู่ครัวของคนไทย มายาวนาน ต้นข่ามีลักษณะ เป็นใบสีเขียว ใบเรียวยาวใหญ่ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ส่วนเหง้าของข่า จะอยู่ในดิน สามารถนำส่วนของใบ ดอก และเง้า มาใช้ประโยชน์ได้

ข่า

ข่า ( Galangal ) เป็นสมุนไพร ที่นิยม นำมาเป็น ส่วนประกอบ ในอาหาร เช่น ต้ม ยำ แกง ฯลฯ โดยเฉพาะคนไทย ที่นิยมนำมา ใช้กันตั้งแต่โบราณ ถือได้ว่า เป็นสมุนไพร คู่ครัวของคนไทย มายาวนาน ต้นข่ามีลักษณะ เป็นใบสีเขียว ใบเรียวยาวใหญ่ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ส่วนเหง้าของข่า จะอยู่ในดิน สามารถนำส่วนของใบ ดอก ลำต้น ราก และเหง้า มาใช้ประโยชน์ได้

เนื่องจากข่า มีสารประกอบ ที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ซาโปนิน แทนนิน ฟีนอล อัลคาลอยด์ และ ฟลาโวนอยด์ ฯลฯ จึงทำให้สมุนไพร ชนิดนี้ ได้ถูกนำมาสกัดเป็นยา และ ถูกนำมาแปรรูป เพื่อนำไปใช้ได้ง่าย และสะดวก ต่อร่างกายของมนุษย์ ทั้งอุปโภคและบริโภค ได้อย่างคุ้มค่า เพราะได้มีการวิจัยศึกษา ออกมาแล้ว ว่าข่าไม่ได้มีพิษ ต่อร่างกายมนุษย์ และไม่มีอันตราย หากนำข่ามาใช้ประโยชน์ อุปโภคและบริโภค อย่างอยู่วิธี ในปริมาณที่พอดี

ข่า
ข่า

ประโยชน์ของ ข่า เพื่อสุขภาพ

1. มีฤทธิ์ ช่วยฆ่าพยาธิ ฆ่าเชื้อรา และ แบคทีเรีย ที่อาจเข้าสู่ ร่างกายของมนุษย์ บางชนิด ได้ดี

2. ช่วยป้องกัน และ ต่อต้านเชื้อมะเร็ง ได้หลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือด และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ฯลฯ

3. ช่วยป้องกัน แบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุ ของการเกิดแผลใน กระเพาะอาหาร

4. ช่วยรักษา โรคทางผิวหนัง เช่น กลากเกลื้อน ฯลฯ โดยใช้ใบ หรือ ดอกของต้นข่า มาตำหรือบด ให้ละเอียด แล้วใช้ทา บริเวณที่ต้องการรักษา

5. ช่วยรักษา อาการท้องอืด ท้องแน่น ท้องเฟ้อ และ ท้องเดิน เป็นสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ ช่วยขับลมได้ดี

6. มีส่วนช่วย ในการยับยั้ง การแพร่กระจาย ของเชื้อไวรัสเอดส์

7. ช่วยทำให้ ระบบทางเดินอาหาร ทำงานได้อย่างสมดุล จึงสามารถช่วย ป้องกันการเกิด อาการท้องผูก ได้ดี

8. ช่วยขับน้ำคาวปลา ในผู้หญิง หลังคลอดบุตร แต่หากต้องการบริโภค ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมี ผลข้างเคียง หากคุณแม่ กำลังให้นมบุตร

9. ในข่า มีสารฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยต่อต้าน อนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วย ชะลอวัย ทำให้อ่อนเยาว์

10. ช่วยลดอาการอักเสบ ได้มีการวิจัยพบว่า สารสกัดจากข่า สามารถช่วย แก้อาการอักเสบ และ ปวดตามข้อ ได้อย่างปลอดภัย และ มีประสิทธิภาพ

11. มีฤทธิ์ช่วย ป้องกันและบรรเทา อาการหวัดได้ดี

12. สามารถช่วยป้องกัน และ ต่อต้าน อาการแพ้ หรือ โรคภูมิแพ้ได้



สูตรข่าแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม

1. น้ำข่าแบบชง

ส่วนผสม

– ข่าแก่ตากแห้ง 30 กิโลกรัม

– น้ำต้มร้อน 1 แก้ว

วิธีทำ

1. นำข่าที่ตากแห้งแล้ว ใส่ลงไปในแก้ว

2. เติมน้ำร้อน ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 นาที

3. นำมาดื่ม จะช่วยทำให้ สบายท้อง ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้

( ไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้วต่อวัน )

2. ข่าเชื่อมแห้ง

ส่วนผสม

– ข่าอ่อน 500 กิโลกรัม

– น้ำตาลทราย 150 กิโลกรัม

– น้ำเปล่าสะอาด 0.3 ลิตร

– ปูนแดงใส่หมาก

วิธีทำ

1. นำข่าอ่อน ปลอกเปลือก แล้วนำมาล้างให้สะอาด

2. นำข่ามาหั่นเป็นแผ่นบางๆ

3. นำปูนแดงผสมกับน้ำเปล่า แล้วนำข่าที่หั่นเสร็จแล้ว ลงไปแช่ทิ้งไว้ ประมาณ 20 – 30 นาที

4. หลังจากนั้น นำข่าออกจากน้ำปูนแดง แล้วนำมาล้างให้สะอาดอีกครั้ง

5. นำข่าไปต้ม ในน้ำเดือด

6. เติมน้ำตาลทราย ลงไปในหม้อ คนให้เข้ากัน เคี้ยวจนน้ำตาล เข้ากับตัวข่า

7. ตักขึ้นจากหม้อ นำมาผึ่งให้เย็น

8. แล้วจึงเก็บใส่โหลแก้ว

( สามารถเก็บไว้ รับประทาน ได้ประมาณ 20 – 30 วัน )

สูตร ช่วยแก้อาการ ปวดเมื่อย

ส่วนผสม

– น้ำมะพร้าว 1 แก้ว

– ลำต้นของข่า ส่วนที่แก่ 2 ต้น

– ผ้าขาวบาง สำหรับกรอง

วิธีทำ

1. นำต้นข่า หั่นเป็นท่อนเล็ก แล้วนำมาตำ หรือบด ให้ละเอียด

2. นำมาใส่ในผ้าขาวบาง แล้วคั้นเอาแต่น้ำ

3. นำน้ำจากต้นข่า นำไปผสมกับ น้ำมะพร้าว

4. แล้วดื่ม อย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์

( สูตรนี้ จะช่วยบรรเทา และแก้วอาการ ปวดเมื่อย ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะ บริเวณข้อ )

สูตรข่า ช่วยรักษาสิว

ส่วนผสม

– ข่าอ่อนหั่นบาง 1 – 2  แผ่น

– น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. นำข่าอ่อน มาตำหรือบด ให้ละเอียด

2. ผสมข่าอ่อน เข้ากับน้ำผึ้ง

3. แล้วนำมาพอก บริเวณที่มีสิว ท้ิงไว้ ประมาณ 10 – 15 นาที

4. แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

( อย่างน้อยควรทำ 2 ครั้ง/สัปดาห์ และเนื่องจากข่า มีฤทธิ์ร้อน อาจทำให้ ผิวของบางราย เกิดอาการแสบร้อน หากรู้สึกแสบร้อน ควรรีบล้างออก โดยทันที )

เนื่องจากข่า มีฤทธิ์ทางยา สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยง และ ระมัดระวัง อย่างเป็นพิเศษ ในการบริโภคข่า เพราะอาจมี ผลข้างเคียงได้ รวมไปถึง ผู้ที่มีโรคประจำตัว หากต้องการบริโภคข่า ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ผู้เขียน: ofezsoft

เผยแพร่ ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ, เทคนิคดูแลสุขภาพ เคล็ดลับความงาม, อ่อนเยาว์, สอนสร้างโปรแกรม (Website), สอนสร้าง API, SEO, Facebook, Line, Social, รับทำเว็บไซต์, รับทำเว็บ App